เกี่ยวกับเรา
เกี่ยวกับเรา
ดร. เทียม โชควัฒนา ผู้ก่อตั้งสหกรุ๊ป เป็นผู้ริเริ่มธุรกิจของบริษัท โดยในระยะแรกผลิตรองเท้าจำหน่ายควบคู่ไปกับสินค้าอุปโภคบริโภคที่สหพัฒน์ผลิต โดยเป็นหน่วยงานหนึ่งในบริษัทไลอ้อน (ประเทศไทย) จำกัด ในปี 2517 ได้แยกออกมาตั้งบริษัท บางกอกรับเบอร์ จำกัด ผลิตรองเท้านักเรียน รองเท้ากีฬา และชุดกีฬา ภายใต้เครื่องหมาย “แพน”
บริษัท บางกอกรับเบอร์ จำกัด ได้ขยายงานเพิ่มโดยตั้งบริษัท แพนเอเซียฟุตแวร์ จำกัด ขึ้นที่สวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทเป็นนิติบุคคล เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2522 ด้วยทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาทโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อผลิต รับจ้างผลิตและจำหน่ายรองเท้า ทั้งในและต่างประเทศ ในระยะแรกบริษัทเริ่มทำการผลิตรองเท้า NIKE เพื่อส่งออกไปจำหน่ายในทวีปอเมริกาและยุโรป และผลิตรองเท้ากีฬา “แพน” เพื่อจำหน่ายในประเทศ
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อบริษัท : บริษัท แพนเอเซียฟุตแวร์ จำกัด(มหาชน)
ชื่อย่อหลักทรัพย์ : PAF
วันที่จดทะเบียนก่อตั้งบริษัท : 5 มิถุนายน 2522
วันที่จดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชน : 19 พฤษภาคม 2531
กลุ่มอุตสาหกรรม : สินค้าอุปโภคบริโภค
ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ : 507/2 หมู่ 11 ตำบลหนองขาม อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี 20230
เว็บไซต์บริษัท : www.panasiafootwear.com
เลขทะเบียนบริษัท : 0107537001501
โทรศัพท์ : 0-38-480020
การเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาการที่สำคัญ
- ปี 2523 บริษัทฯ ได้เริ่มผลิตรองเท้าไนกี้เพื่อส่งออกให้กับบริษัท NIKE IHM INC. ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นรายแรกในประเทศไทย และเป็นผลิตภัณฑ์แรกของบริษัทที่มีการส่งออกโดยมียอดผลิตในระยะแรกประมาณเดือนละ 40,000 คู่
- ปี 2537 บริษัทฯ ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2537 ตามทะเบียนเลขที่ บมจ. 397 และที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 2/2537 เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2537 ได้มีมติเพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 400 ล้านบาท เป็น 800 ล้านบาท โดยเรียกชำระแล้ว 600 ล้านบาท เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2537 และเรียกชำระหุ้นเพิ่มทุนส่วนที่เหลืออีก 200 ล้านบาท ตามมติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2544 เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2544 และที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2545 เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2545 ได้มีมติเพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 800 ล้านบาทเป็น 1,800 ล้านบาท โดยเรียกชำระเป็น 2 งวด งวดแรกจำนวน 400 ล้านบาท และงวดที่สองจำนวน 600 ล้านบาทและที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2547 เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2547 มีมติเพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 1,800 ล้านบาทเป็น 2,700 ล้านบาท
- ปี 2540 บริษัทฯ เป็นบริษัทแรกของประเทศไทย สำหรับอุตสาหกรรมประเภทรองเท้าที่ได้รับใบรับรองการบริหารระบบคุณภาพ ISO 9002 : 1994 เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2540 และเป็นอันดับ 6 ของทวีปเอเชีย เพื่อให้มั่นใจว่าสินค้ามีคุณภาพได้มาตรฐานตามข้อตกลงและความพึงพอใจของลูกค้า พร้อมทั้งให้มีการธำรงรักษา และปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบการบริหารคุณภาพอย่างต่อเนื่อง บริษัทฯ ได้นำระบบISO 9001 : 2000 มาพัฒนาใช้และได้รับการรับรองจาก BUREAU VERITAS QUALITY INTERNATIONAL เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2547 อีกทั้งยังได้รับใบรับรองระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 : 1996 จาก SGS YARSLEY INTERNATIONAL CERTIFICATION SERVICES LIMITED เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2547
- ปี 2545 บริษัทฯ นำระบบการบริหารงานแบบ TAC (TOTAL ACTUAL COST), TPM (TOTAL PRODUCTIVE MAINTENANCE), MOPP (MISSION OBJECTIVE POLICY & PROJECT) และ DPL (DEVELOPMENT PER-PRODUCTION & LOGISTIC) มาเป็นเครื่องมือสร้างความสำเร็จในการผลิตและการด้านตลาด เพื่อลดต้นทุนในการผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพ
- ปี 2546 บริษัทฯได้พัฒนากระบวนการผลิตโดยเริ่มนำเอาระบบ TMS (TOYOTA MANUFACTURING SYSTEM) มาประยุกต์ใช้ในการผลิตร่วมกับระบบ NOS ของลูกค้าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและปรับปรุงการผลิต การทำงานให้กระชับ รวดเร็ว ยืดหยุ่น มีคุณภาพและลดต้นทุน
- ปี 2548 บริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะพัฒนาระบบการบำรุงรักษาทวีผล (TPM) ซึ่งเป็นระบบที่ทุกคนมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างและพัฒนาคนและเครื่องจักร ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้งาน การพัฒนาระบบการบำรุงรักษาทวีผลอย่างต่อเนื่อง จะก่อให้เกิดผลต่อการผลิต พร้อมพัฒนาบริษัทฯ ให้มีการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งต่อไป อีกทั้งยังได้มุ่งเน้นคุณภาพของสินค้า โดยพัฒนาและปรับปรุงระบบความชำนาญในการผลิต (CRAFTSMANSHIP) เพื่อสนองตอบความต้องการและความพึงพอใจให้กับลูกค้า
- ปี 2553 บริษัทฯ มีระบบการจัดการทางด้านการผลิต โดยพัฒนาระบบการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และลดต้นทุนการผลิตมากขึ้น สามารถรองรับ ORDER รองเท้าหลากหลาย BRAND, ลงทุนซื้อเครื่องจักรเพื่อขยายกำลังการผลิตผลิตภัณฑ์กระเป๋า ปัจจุบันบริษัทสามารถผลิตรองเท้าได้หลากหลายแบบ และผลิตกระเป๋าภายใต้ BRAND JANSPORT, KIPLING, EASTPAK
- ปี 2554 บริษัทฯ ยังคงพัฒนาระบบการจัดการทางด้านการผลิตอย่างต่อเนื่อง โดยการเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิต บริษัทฯ ได้เพิ่มยอดขายในประเทศ โดยเปิดร้าน SHOES OUTLET ที่สำนักงานใหญ่ และมีการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทฯ จาก บริษัท พี เอ แคปปิตอล จำกัด และ บริษัท บางกอกรับเบอร์ จำกัด (มหาชน) เป็น บริษัท ไอ.ซี.ซี อินเตอร์เนชั่นแนลจำกัด (มหาชน) และ บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน)
- ปี 2556 บริษัทฯ ได้ปรับโครงสร้างธุรกิจจากโรงงานผลิตรองเท้าและกระเป๋าตั้งแต่ 31 สิงหาคม 2556 เป็นบริษัทฯที่ประกอบธุรกิจในการถือหุ้นในบริษัทย่อยเพียงอย่างเดียว(Holding Company) โดยบริษัทยังคงมีสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทย่อยเช่นเดิม โดยมีบริษัท ดับเบิ้ลยูบีแอลพี จำกัด (เดิม บริษัท แพนระยองจำกัด) ซึ่งเป็นผู้ผลิตรองเท้าและกระเป๋า เป็นบริษัทแกนของบริษัทฯ โดยมุ่งเน้นลูกค้าในประเทศเป็นหลัก ซึ่งเป็นกลุ่มในเครือเดียวกัน
- ปี 2558 เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2558 จดทะเบียนจัดตั้ง บริษัท เอ็กแซ็ค คิว จำกัด ประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรมฟอกย้อม กับกระทรวงพาณิชย์ ทุนจดทะเบียน 16 ล้านบาท บริษัทฯถือหุ้นคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 99.98
- 22 ตุลาคม 2558 เปลี่ยนแปลงสภาพบริษัทจากบริษัทร่วมเป็นบริษัทย่อย 1 แห่ง คือ บริษัท แอดแวนเทจฟุตแวร์ จำกัด
- 19 ตุลาคม 2558 บริษัทฯ เปลี่ยนแปลงทุนจดทะเบียนและทุนชำระแล้ว จาก 2,700,000,000 บาท คงเหลือ 275,400,000 บาท เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2558 โดยลดมูลค่าหุ้นที่ตราไว้ จากเดิมหุ้นละ 5 บาท เป็นหุ้นละ 0.51 บาท ตามมติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2558
- ปี 2559 วันที่ 28 มกราคม 2559 เปลี่ยนแปลงสภาพบริษัทจากบริษัทร่วมเป็นบริษัทย่อย 1 แห่ง คือ บริษัท อาภากร อุตสาหกรรม จำกัด เปลี่ยนแปลงเนื่องจากบริษัท พี เอ แคปปิตอล จำกัด ชำระหนี้เป็นหุ้นสามัญ ของ บริษัท อาภากร อุตสาหกรรม จำกัด ให้กับบริษัทฯ เป็นผลทำให้บริษัทฯและบริษัทย่อยมีสัดส่วนการถือหุ้นคิดเป็นร้อยละ 96.58
- 26 เมษายน 2559 ขออนุมัติต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิ สำหรับประกอบกิจการผลิต จำหน่าย สินค้าทางการเกษตร พืชสมุนไพร รวมทั้งแปรรูปผลิตภัณฑ์ ซื้อ จำหน่าย นำเข้า ส่งออก ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจและสามารถรองรับการขยายตัวของธุรกิจ
- พฤษภาคม 2559 บริษัทฯขายเงินลงทุนในหุ้นสามัญของ บริษัท แพนเอเซีย การ์เม้นท์ (ประเทศลาว) จำกัด ให้บริษัทที่เกี่ยวข้อง 2 แห่ง
- ธันวาคม 2559 ซื้อหุ้นเพิ่มทุน บริษัท สหชลผลพืช จำกัด จำนวน 50,000 หุ้น สัดส่วนการถือหุ้นร้อยละ 1.54 โดยบริษัทฯ และบริษัท แอดแวนเทจ ฟุตแวร์ จำกัด (บริษัท สหชลผลพืช จำกัด จดทะเบียนเพิ่มทุนกับกระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2560)
- ปี 2560 วันที่ 20 พฤศจิกายน 2560 จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี บริษัท แพนเทค อาร์ แอนด์ ดี จำกัด ต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
- 23 พฤศจิกายน 2560 ได้รับการรับรองมาตรฐานระบบ GMP , HACCP จาก SGS (Thailand) Limited รับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ผ่านกระบวนการแพคที่ดี สะอาด ปลอดภัย รับรองมาตรฐานอาคารคัดบรรจุ และรับรองผลผลิต 4 ชนิด ได้แก่ กระเจี๊ยบเขียว หน่อไม้ฝรั่ง ต้นหอม และข้าวโพดอ่อน
- ปี 2561 มีนาคม 2561 บริษัท แพนเอเชียฟุตแวร์ จำกัด (มหาชน) ซื้อหุ้นสามัญของ บริษัท อาภากร อุตสาหกรรม จำกัด จาก บริษัท พอนเท็กซ์(ประเทศไทย) จำกัด จำนวน 7,307 หุ้น สัดส่วนการถือหุ้นเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 66 เป็นร้อยละ 99
- 2 พฤษภาคม 2561 บริษัท พิมายฟุตแวร์ จำกัด และ บริษัท อินโนเวชั่นนครหลวง ฟุตแวร์ จำกัด จดทะเบียนเลิกบริษัทกับกระทรวงพาณิชย์ อยู่ระหว่างการชำระบัญชี
- 12 พฤศจิกายน 2561 ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ มีมติควบรวมบริษัทย่อย ได้แก่ บริษัท พอนเท็กซ์(ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัท อาภากร อุตสาหกรรม จำกัด
- 1 ตุลาคม 2561 บริษัท เอ็กแซ็ค คิว จำกัดหยุดประกอบกิจการเนื่องจากผลประกอบการขาดทุน โดยขายเครื่องจักรและอุปกรณ์ให้กับบริษัทที่เกี่ยวข้องกันแห่งหนึ่ง
- ธันวาคม 2561 บริษัท พี เอ แคปปิตอล จำกัด ชำระหนี้ให้กับ บริษัท ฟุตแวร์เทค 1530 จำกัด และ บริษัท โมเดอร์น เทคโนโลยี่ คอมโพเนท์ จำกัด เป็นหุ้นของบริษัท เพค อินดัสทรีส์ จำกัด จำนวน 4,961 หุ้น สัดส่วนถือหุ้นร้อยละ 35.44 ของทุนที่ออกและเรียกชำระแล้ว เป็นผลให้ บริษัท เพค อินดัสทรีส์ จำกัด เป็นบริษัทร่วมของกลุ่มบริษัท และ รับชำระหนี้เป็นที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ตำบลละหาร อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง จำนวน 18 แปลง เนื้อที่ดินรวม 68 ไร่ 1 งาน 67 ตารางวา เป็นเงิน 51,245,950 บาท
- ปี 2562 2 มกราคม 2562 บริษัท พอนเท็กซ์(ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัท อาภากร อุตสาหกรรม จำกัด ควบรวมกิจการโดยจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทใหม่กับกระทรวงพาณิชย์ บริษัทใหม่ที่เกิดจากการควบรวมภายใต้ชื่อ “บริษัท พอนเท็กซ์(ประเทศไทย) จำกัด”
- กุมภาพันธ์ 2562 บริษัท เอ็กซ์เซลเล้นท์ รับเบอร์ จำกัด และ บริษัท แอดแวนเทจ ฟุตแวร์ จำกัด ซื้อหุ้นบริษัท เพค อินดัสทรีส์ จำกัด จากกรรมการ จำนวน 6,993 หุ้นในราคาหุ้นละ 801 บาท สัดส่วนการถือหุ้นเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 35.44 เป็นร้อยละ 81.73 ทำให้เปลี่ยนสถานะจากบริษัทร่วมเป็นบริษัทย่อย
- 29 เมษายน 2562 บริษัท กบินทร์บุรี แพนเอเซียฟุตแวร์ จำกัด จดทะเบียนเลิกบริษัทกับกระทรวงพาณิชย์ อยู่ระหว่างการชำระบัญชี
- 15 พฤษภาคม 2562 บริษัท เอ็กแซ็ค คิว จำกัด จดทะเบียนเลิกบริษัทกับกระทรวงพาณิชย์ อยู่ระหว่างการชำระบัญชี
- ปี 2563 วันที่ 16 มิถุนายน 2563 บริษัท ฟุตแวร์เทค 1530 จำกัด จดทะเบียนเลิกบริษัทกับกระทรวงพาณิชย์ อยู่ระหว่างการชำระบัญชี
- 24 มิถุนายน 2563 บริษัท พอนเท็กซ์(ประเทศไทย) จำกัด(บริษัทย่อย) ซื้อหุ้นสามัญ บริษัท แพนเอเซียฟุตแวร์ จำกัด (มหาชน) จำนวน 5,533,602 หุ้น จากสำนักงานบังคับคดีกรุงเทพมหานคร ๒ โดยการขายทอดตลาด ซึ่งบริษัท บ้านแพนเอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ โฮลดิ้ง จำกัด (จำเลย) เป็นผู้ถือหุ้น ทำให้ บริษัท พอนเท็กซ์(ประเทศไทย) จำกัด มีสัดส่วนการถือหุ้น บริษัท แพนเอเซียฟุตแวร์ จำกัด (มหาชน) จากเดิมร้อยละ 0.50 เป็น ร้อยละ 1.53
- 12 ตุลาคม 2563 บริษัท เอ็กซ์เซลเล้นท์ รับเบอร์ จำกัด จดทะเบียนเลิกบริษัทกับกระทรวงพาณิชย์ อยู่ระหว่างการชำระบัญชี
- 5 ตุลาคม 2563 บริษัท พอนเท็กซ์(ประเทศไทย) จำกัด(บริษัทย่อย) ซื้อหุ้นสามัญ บริษัท แพนเอเซีย ฟุตแวร์ จำกัด (มหาชน) จำนวน 162,377 หุ้น จาก บริษัท ฟุตแวร์เทค 1530 จำกัด(บริษัทย่อย) (จดทะเบียนเลิกเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2563) ทำให้ บริษัท พอนเท็กซ์(ประเทศไทย) จำกัด มีสัดส่วนการถือหุ้น บริษัท แพนเอเซียฟุตแวร์ จำกัด (มหาชน) จากเดิมร้อยละ 1.53 เป็น ร้อยละ 1.56
- 29 ตุลาคม 2563 บริษัท เอ็กแซ็ค คิว จำกัด ได้จดทะเบียนเสร็จสิ้นการชำระบัญชี กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
- 26 พฤศจิกายน 2563 บริษัทฯ โอนหุ้นสามัญของบริษัท โมเดอร์น เทคโนโลยี่ คอมโพเน้นท์ จำกัด จำนวน 888,895 หุ้น เพื่อชำระหนี้ให้กับ บริษัท พอนเท็กซ์(ประเทศไทย) จำกัด ทำให้สัดส่วนการถือหุ้นเปลี่ยนจากร้อยละ 100 คงเหลือร้อยละ 55.55
- 26 พฤศจิกายน 2563 บริษัท ฟุตแวร์เทค 1530 จำกัด (จดทะเบียนเลิกเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2563) โอนหุ้นสามัญ บริษัท เพค อินดัสทรีส์ จำกัด จำนวน 4,522 หุ้น เพื่อแบ่งคืนให้ผู้ถือหุ้น ทำให้บริษัทมีสัดส่วนเงินลงทุนในบริษัท เพค อินดัสทรีส์ จำกัด ร้อยละ 32.30
- ปี 2564 วันที่ 23 เมษายน 2564 บริษัทและบริษัทย่อยขายหุ้นบริษัท พี เอ แคปปิตอล จำกัด จำนวน 4,837,432 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 1.00 บาท ให้กับ บริษัท อินโนเวชั่น ฟุตแวร์ จำกัด และส่งผลให้บริษัท พี เอ แคปปิตอล จำกัด สิ้นสุดการเป็นบริษัทร่วมของบริษัท
- 24 พฤศจิกายน 2564 บริษัทฯ ได้ยื่นขอรับอนุญาตเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เฉพาะกัญชง ต่อมาเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2564 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้พิจารณาออกใบอนุญาตผลิต (ปลูก) ซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เฉพาะกัญชง เลขที่ใบอนุญาต นม 35/2564 (ป) ให้ไว้แก่ บริษัทฯ และบริษัทฯ ได้รับใบอนุญาตดังกล่าวเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2564 เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์หรืออุตสาหกรรม โดยได้รับอนุญาตให้ปลูกกัญชง ณ อำเภอ ปากช่อง จังหวัด นครราชสีมา ทั้งนี้ เพื่อสร้างจุดเด่น ความแตกต่าง และมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์กัญชงของกลุ่มบริษัท โดยเปิดเผยต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- ปี 2565 วันที่ 25 มีนาคม 2565 ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 29 ของ บริษัท ดับเบิ้ลยู บีแอลพี จำกัด มีมติให้ลดทุนจดทะเบียนและทุนที่ชำระแล้ว จำนวน 22.50 ล้านบาท โดยการลดมูลค่าหุ้นจากเดิมที่ตราไว้หุ้นละ 100 บาท ให้เหลือมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 25 บาท ดำเนินการจดทะเบียนลดทุนกับกระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2565
- 24 พฤษภาคม 2565 ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2565 ของบริษัท ดับเบิ้ลยู บีแอลพี จำกัด มีมติโอนทุนสำรองตามกฎหมาย เพื่อชดเชยผลขาดทุนสะสะม จำนวน 5,785,404 บาท และมีมติให้ลดทุนจดทะเบียนและทุนที่ชำระแล้ว จำนวน 4.50 ล้านบาท โดยการลดมูลค่าหุ้นจากเดิมที่ตราไว้หุ้นละ 25 บาท ให้เหลือมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท ดำเนินการจะทะเบียนลดทุนกับกระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2565
- 15 สิงหาคม 2565 บริษัทฯ โอนหุ้นสามัญของบริษัท โมเดอร์น เทคโนโลยี่ คอมโพเน้นท์ จำกัด จำนวน 649,599 หุ้น เพื่อชำระหนี้ให้กับ บริษัท แอดแวนเทจ ฟุตแวร์ จำกัด ทำให้สัดส่วนการถือหุ้นเปลี่ยนจากร้อยละ 55.55 คงเหลือร้อยละ 23.07
- เดือนตุลาคม 2565 บริษัท แพนเอเซียฟุตแวร์ จำกัด (มหาชน) เริ่มธุรกิจอุตสาหกรรมรองเท้า โดยเริ่มจากรับคำสั่งซื้อจากลูกค้า Brand Lacoste และส่งออกไปยังประเทศต่าง ๆ ตามคำสั่งซื้อของลูกค้า
- ปี 2566 เดือนมีนาคม 2566 บริษัท แอดแวนเทจ ฟุตแวร์ จำกัด ขายหุ้น บริษัท โมเดอร์น เทคโนโลยี่ คอมโพเน้นท์ จำกัด ให้กับ บริษัท แพนเอเซียฟุตแวร์ จำกัด (มหาชน) จำนวน 330,000 หุ้น และ ขายให้กับ บริษัท พอนเท็กซ์(ประเทศไทย) จำกัด จำนวน 319,599 หุ้น ในราคาหุ้นละ 19.67 บาท ราคาตามบัญชี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565
- เดือนมิถุนายน 2566 ได้จดทะเบียนควบรวมบริษัทกับกระทรวงพาณิชย์ ระหว่าง บริษัท โมเดอร์น เทคโนโลยี่ คอมโพเน้นท์ จำกัด กับ บริษัท แอดแวนเทจ ฟุตแวร์ จำกัด ได้ควบรวมบริษัทภายใต้ชื่อ “บริษัท แอดแวนเทจ ฟุตแวร์ จำกัด” เพื่อรับไปซึ่งทรัพย์สินและหนี้สินในราคาตามมูลค่าตามบัญชี สิทธิ หน้าที่และความรับผิดชอบของบริษัทย่อยทั้งสองบริษัท
- เดือนกันยายน 2566 มติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2566 ของบริษัท ดับเบิ้ลยู บีแอลพี จำกัด มีมติให้เพิ่มทุนจดทะเบียน โดยการออกหุ้นสามัญ จำนวน 1,200,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท เป็นเงิน 12 ล้านบาท ทำให้ทุนจดทะเบียนเพิ่มขึ้นจากจำนวน 3 ล้านบาท (หุ้นสามัญ 300,000 หุ้น) เป็นจำนวน 15 ล้านบาท (หุ้นสามัญ 1,500,000 หุ้น) จดทะเบียนเพิ่มทุนกับกระทรวงพาณิชย์เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2566 โดย บริษัท แพนเอเซียฟุตแวร์ จำกัด (มหาชน) ใช้สิทธิการซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนจดทะเบียนน้อยกว่าสิทธิที่ได้รับ โดยซื้อจำนวน 750,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท จำนวนเงิน 7.50 ล้านบาท ทำให้สัดส่วนการถือหุ้นเปลี่ยนจากร้อยละ 100 คงเหลือร้อยละ 70 และผู้ถือหุ้นรายเดิม (กรรมการ) สองท่าน ใช้สิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุนตามจำนวนสิทธิของตัวเอง และซื้อเพิ่มในส่วนที่ผู้ถือหุ้นรายอื่นสละสิทธิ จำนวน 450,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท รวมเป็นเงินจำนวน 4.50 ล้านบาท ทำให้สัดส่วนการถือหุ้นเพิ่มขึ้นเท่ากับร้อยละ 30
- บริษัทฯ จัดทำการประเมินคาร์บอนฟุตปริ๊นองค์กร (Carbon Footprint Organization : CFO) เพื่อประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร เพื่อธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง โดยมีที่ปรึกษาจาก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หน่วยงานทวนสอบ บริษัท อีซีอีอี จำกัด ขอบเขตการประเมินของบริษัทฯ ที่ฟาร์มออแกนนิค ส่วนขอบเขตการประเมินของกลุ่มบริษัท จำนวน 4 บริษัท ประเมินที่สำนักงานใหญ่ที่แต่ละบริษัทตั้งอยู่
04 พฤศจิกายน 2567
ผู้ชม 1325 ครั้ง